ฟิสิกส์
การเกิดไฟฟ้าสถิต

การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรง ดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุ ชนิดเดียวกัน เราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2 ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยน กัน โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ฉนวน ตัวอย่างเช่น ยาง, พลาสติก และแก้ว สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้นโอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุ ไม่เท่ากันนั้นยากแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น กรณีที่ผิวโลหะถูกกระแทกด้วยของแข็งหรือของเหลวที่ไม่เป็นตัวนำ ประจุที่เกิดการเคลื่อนย้ายระหว่างการสัมผัสจะถูกเก็บบนผิวของวัสดุทั้ง 2 ชิ้น จากผลการทดลองแสดงว่า ประจุไฟฟ้าที่เกิดบนแท่งแก้วคู่แรกต้องเป็นประจุไฟฟ้าชนิดเดี่ยวกันเพราะ ต่างถูด้วยแพรด้วยกัน และประจุไฟฟ้าที่เกิดบนแท่งแก้วคู่หลังก็เป็นประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันเพราะ ต่างถูด้วยชนสัตว์เช่นเดียวกัน โดยทีแท่งแก้วคู่แรกผลักกันและแท่งแก้วคู่หลังผลักกัน แต่แท่งแก้วจากคู่แรกและจากคู่หลังดูดกันย่อมแสดงว่า ประจุไฟฟ้าบนแท่งแก้วคู่แรกและคู่หลังต้องเป็นประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน แม้ว่าจะทดลองใช้วัตถุคู่อื่นๆที่เหมาะสม ก็จะให้ผลทำนองเดียวกัน จึงสรุปผลได้ว่า ประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการขัดสีมีต่างกันอยู่สองชนิดเท่านั้นจึงได้กำหนด ชนิดประจุไฟฟ้า โดยเรียกประจุไฟฟ้าชนิดหนึ่งว่า ประจุไฟฟ้าบวก (POSITIVE CHARGE) และเรียกประจุไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งว่า ประจุไฟฟ้าลบ (NEGATIVE CHARGE)
อ้างอิง : http://phtcis.blogspot.com/p/13.html
เคมี
การเกิดปิโตรเลียม

ปิโตรเลียมเกิดจากซากพืชซากสัตว์ตายทับถมกันภายใต้พื้นพิภพเป็นเวลาล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นชั้นหินด้วยความกดดันสูงอันเกิดจากการเคลื่อนตัวและหดตัวของชั้นหินและอุณหภูมิใต้พิภพ
สารอินทรีย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธาตุไฮโดรเจนและไฮโดรคาร์บอนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างช้าๆแปรสภาพเป็นก๊าซและน้ำมันดิบสะสมและซึมผ่านชั้นหินที่เป็นรูพรุนเช่นชั้นหินทรายและชั้นหินปูนไปสู่แอ่งหินที่ต่ำกว่า จากนั้นค่อย ๆ สะสมตัวอยู่ระหว่างชั้นหินที่หนาแน่น ซึ่งไม่สามารถซึมผ่านไปได้อีก โดยปกติปริมาณการสะสมตัวจะมี 5.25 %ของปริมาตรหิน เนื่องจากปิโตรเลียมถูกบีบอัดด้วยชั้นหินต่าง ๆ มันจะพยายามแทรกตัวขึ้นมายังผิวโลกตามรอยแตกของชั้นหินเว้นแต่ว่ามันจะถูกปิดกั้นด้วยชั้นหินเนื้อแน่น ซึ่งทำให้มันถูกกักไว้ใต้ผิวโลกลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินใต้ผิวโลกที่เหมาะสมในการเกิดปิโตรเลียม คือ ชั้นหินรูปโค้งประทุนคว่ำ
โครงสร้างรูปโค้งประทุนคว่ำ
เกิดจากการหักงอของชั้นหินทำให้ชั้นหินมีรูปร่างโค้งคล้ายกะทะคว่ำหรือหลังเต่าน้ำมันและแก๊สจะเคลื่อนเข้าไปรวมตัวกันอยู่ในส่วนโค้งก้นกะทะ โดยมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่โครงสร้างรูปโค้งประทุนคว่ำ เกิดจากการหักงอของชั้นหิน
โครงสร้างรูปประดับชั้น
สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกในอดีต ชั้นหินกักเก็บน้ำมันจะถูกล้อมเป็นกะเปาะอยู่ระหว่างชั้นหินเนื้อแน่น
โครงสร้างรูปโดม
เกิดจากการดันตัวของชั้นหินเกลือผ่านชั้นหินกักเก็บน้ำมันซึ่งตามปกติจะเป็นรูปโดม น้ำมันและแก๊สจะสะสมอยู่ด้านข้างของโดมชั้นเกลือ
โครงสร้างรูปรอยเลื่อน
เกิดจากการหักงอของชั้นหินทำให้ชั้นหินเคลื่อนไปคนละแนวการที่น้ำมันและแก๊สถูกกักเก็บอยู่ได้เพราะมีชั้นหินเนื้อแน่นเลื่อนมาปิดชั้นหินที่มีรูพรุนทำให้น้ำมันและแก๊สถูกกักเก็บอยู่ในช่องที่ปิดกั้น
อ้างอิง : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/18/Web/petroleum3.html
ชีววิทยา
พันธุศาสตร์
ลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกัน รุ่นลูกหลานจะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ ปู่ย่า หรือตายาย แสดงว่าลักษณะเหล่านั้นมีการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้เป็น ลักษณะทางพันธุกรรม
พันธุกรรม (Gene) หมายถึง หน่วยที่มีคุณสมบัติควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
พันธุศาสตร์ (Genetic ) หมายถึง วิชาวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง
ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์ สิ่งมีชีวิต สปีชีส์เดียวกันย่อมมีความแตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน ความแตกต่างเหล่านี้เป็นผลจากพันธุกรรมที่ต่างกันความแตกต่างเนื่องจากพันธุกรรมที่ต่างกันเรียกว่า ความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variation)
ลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่แปรผันแบบต่อเนื่อง (continuous variation) เป็นลักษณะที่ไม่สามารถแยกเป็นกลุ่มได้ชัดเจน ถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่ เช่น ความสูง สีผิวของคน น้ำหนักของคน ฯลฯ
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่แปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation) เป็นลักษณะที่สามรถแยกเป็นกลุ่มได้ชัดเจน เช่น มีติ่งหู/ไม่มีติ่งหู หนังตาชั้นเดียว/หนังตาสองชั้น หมู่เลือดของคน ห่อลิ้นได้/ห่อลิ้นไม่ได้ ฯลฯ
ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ความแตกต่างของลักษณะของสิ่งมีชีวิต มิใช่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่แตกต่างกันเท่านั้น ส่วนหนึ่งยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ความสูงจะได้รับอิทธิพลจากอาหารที่กินด้วย ฯลฯ
ลักษณะสิ่งมีชีวิต = พันธุกรรม + สิ่งแวดล้อม
อ้างอิง : http://vivattanakan.blogspot.com/2012/09/blog-post.html